NEWS มข.แถลงค้นพบบึ้งสกุลใหม่ของโลก 3 years ago Social Shareมหาวิทยาลัยขอนแก่น แถลงข่าวการค้นพบบึ้งสกุลใหม่ของโลก “บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน” เป็นการค้นพบบึ้งสกุลใหม่ของเอเชียในรอบ 104 ปี Social Share Post Views : 26 ที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แถลงข่าวการค้นพบบึ้งต้นไม้สกุลใหม่ของโลก Taksinus bambus “บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน” ผลงานของอาจารย์ในสังกัดคณะเกษตรศาสตร์ ที่ได้สร้างชื่อเสียงในด้านการค้นคว้าวิจัยในการค้นพบบึ้งสกุลใหม่ของเอเชียในรอบ 104 ปี และยังเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการค้นพบบึ้งสกุลใหม่จากประเทศไทยในครั้งนี้บึ้งพันธุ์ใหม่ชนิดนี้มีชื่อว่า Taksinus bambus หรือ “บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน” ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกที่จังหวัดตาก รายละเอียดได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยชื่อดังทางด้านสัตววิทยา Zookeys เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 โดยได้ทำการตั้งสกุลนี้ เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นอกจากนี้ลักษณะนิเวศวิทยาของบึ้งชนิดนี้มีความพิเศษ เนื่องจากเป็นบึ้งชนิดแรกในโลกที่มีการดำรงชีวิตอยู่เฉพาะต้นไผ่เท่านั้น สร้างความน่าประหลาดใจแก่วงการวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นการค้นพบบึ้งสกุลใหม่ของเอเชียในรอบ 104 ปี และยังเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการค้นพบบึ้งสกุลใหม่จากประเทศไทย รวมทั้งการค้นพบนี้ยังได้รับความสนใจและลงบทสัมภาษณ์จากสำนักพิมพ์และสำนักข่าวต่างประเทศทั่วโลก โดยในงานแถลงข่าวในวันนี้มีทีมผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ นายทรงธรรม สิปปวัฒน์ (โจโฉ) ยูทูปเบอร์ชื่อดัง ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 2.48 ล้านคน ร่วมประชาสัมพันธ์และแถลงข่าวในครั้งนี้ด้วย นอกจากนั้นกิจกรรมภายในงานยังประกอบด้วยการจัดแสดงบึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน (ที่ยังมีชีวิต) และบึ้งอื่น ๆ ที่น่าสนใจในประเทศไทยให้ถ่ายภาพอีกด้วย ผลงานการค้นคว้าดังกล่าวเกิดจากการทุ่มเท แรงกาย แรงใจ ร่วมกับทีมวิจัย ซึ่งประกอบด้วย นายชวลิต ส่งแสงโชติ นักแมงมุมวิทยาจากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณวุฒิไกร ใข่แก้ว นักวิชาการอิสระ และคุณทรงธรรม สิปปวัฒน์ เป็นผู้ค้นพบบึ้งชนิดนี้และได้ทำการสำรวจ เก็บตัวอย่างและศึกษาเพิ่มเติม นำมาสู่การบรรยายลักษณะและตีพิมพ์การค้นพบบึ้งสกุลใหม่ของโลกในวารสารวิจัยนานาชาติ สำหรับ Taksinus bambus “บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน” ถูกค้นพบห่างไกลออกไปในทางพื้นที่ภูมิศาสตร์ทั้งหมดที่เคยถูกค้นพบมา โดยคันพบในลำไผ่บนภูเขาสูงกว่า 1,000 เมตรในจังหวัดตาก ของประเทศไทย Taksinus bambus “บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน” แม้จะจัดอยู่ในกลุ่มบึ้งต้นไม้ แต่เป็นบึ้งชนิดแรกของโลกที่มีความจำเพาะกับต้นไม้ โดยบึ้งชนิดนี้อาศัยดำรงชีวิตอยู่ภายในปล้องของต้นไผ่เท่านั้นมีนิเวศวิทยาเกี่ยวข้องกับต้นไผ่เอเชีย (Gigantochloa sp.) ขนาดของรูทางเข้าของ บึ้งปล้องไผ่พระเจ้าตากสิน มีขนาดตั้งแต่ประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร ไปจนถึงขนาดใหญ่ บึ้งเป็นสัตว์ไม่สามารถเจาะรูไม้ไผ่ได้เอง จากการศึกษาสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากสัตว์ฟันแทะเจาะเข้ามาใช้ประโยชน์ในการหาอาหารจากไผ่เพื่อกินหนอนที่อยู่ภายใน รวมถึงอาจเกิดจากสัตว์อื่น ๆ เช่น แมลงที่เจาะเข้าไป หรือเกิดปริแตกตามธรรมชาติของต้นไผ่เองรวมทั้งยังเกิดจากการกระทำของคนได้อีกด้วย บึ้งชนิดนี้จะอาศัยอยู่ภายในปล้องไผ่โดยสร้างใยปกคลุมล้อมรอบภายในปล้องและมักออกมาหาอาหารเป็นสัตว์ขนาดเล็กหรือแมลงในช่วงกลางคืน จากลักษณะของบึ้ง ชนิดนี้มีความพิเศษเนื่องจากเป็นบึ้งชนิดแรกในโลกที่มีการดำรงชีวิตแบบเลือกเฉพาะต้นไผ่เท่านั้น สร้างความน่าประหลาดใจแก่วงการวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก ข่าว – ธิยาพร แก้ววงศ์ , ไอลดา เจริญถิ่นภาพ – ณัชภัทร ลาภทิพย์ , ภูมินทร์ พินิจ About Author ทีมข่าว See author's posts Continue Reading Previous อาชีพกรรมกรด่านชายแดนได้รับผลกระทบจากโควิด 19Next เปิดใจ! พ่อเฒ่าวัย 56 ปี ฆ่าเผาสุนัขทำเนื้อแดดเดียว ข่าวอื่น ๆ NEWS WeekNews Expert Education ขอนแก่น สัมมนาการศึกษาต่อและทำงานต่างประเทศ 4 months ago COMMUNITY NEWS WeekNews ขอนแก่น-วางกฎเหล็กสถานบันเทิงห้ามทำผิดกฎหมาย 8 months ago COMMUNITY NEWS WeekNews ขอนแก่น-อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม หนุนประเพณีสงกรานต์อีสานดั้งเดิม 9 months ago Leave a Reply Cancel replyYour email address will not be published. Required fields are marked *Comment * Name * Email * Website Save my name, email, and website in this browser for the next time I comment. Δ