บริษัทผลิตน้ำปลาร้าจากปลาชายแดนใต้ นำวัสดุเหลือใช้ทำอาหารสัตว์

Social Share

บริษัทผลิตน้ำปลาร้าชื่อดังที่อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น นำปลากะตักหรือปลาจิ้งจั้ง ปลาน้ำเค็มจากชายแดนภาคใต้มาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำน้ำปลาร้าส่งจำหน่ายทั่วภาคอีสานและในประเทศไทย พร้อมนำเศษปลาที่เหลือจากการหมักต้มมาแปรรูปเป็นอาหารสัตว์และปุ๋ยอินทรีย์จำหน่าย สร้างรายได้เพิ่มเติมและเป็นการนำวัตถุดิบเหลือใช้ไปใช้ประโยชน์

Social Share

     วันที่ 9 ธันวาคม 2564 เศษปลากะตักหรือปลาจิ้งจั้งบดละเอียด ที่ผ่านการผสมเครื่องปรุงรส ออกมามีลักษณะคล้ายปลาป่นแห้ง เป็นวัตถุดิบหลักที่เหลือจากการผลิตน้ำปลาร้าต้มสุกเพื่อส่งจำหน่าย ที่บริษัท ปลาร้าเชฟไพรฑูรย์ ฟู้ดโปรดักส์ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 123 หมู่10 ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น  ได้เตรียมนำมาผลิตเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ไข่ และเตรียมนำไปเป็นส่วนประกอบของปุ๋ยชีวภาพที่ใช้ในการบำรุงพืช เพื่อเตรียมผลิตออกจำหน่ายในตลาด หลังจากที่วัตถุดิบเหล่านี้ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก เคยกลายเป็นวัตถุเหลือใช้จากการผลิตน้ำปลาร้าที่นำไปใช้ประโยชน์ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

       นายไพรฑูรย์ ชารีนิวัฒน์ ผู้บริหาร บริษัท ปลาร้าเชฟไพรฑูรย์ ฟู้ดโปรดักส์ จำกัด กล่าวว่า ตนเองเป็นลูกอีสานที่เติบโตมากับปลาร้า ซึ่งเป็นอาหารที่มีรสชาติแซ่บนัว จึงเกิดแนวคิดว่าทำอย่างไรที่จะให้คนภาคอื่น ๆ ได้ลิ้มรสปลาร้าที่แซ่บ อร่อย และนัวแบบอีสานๆ ด้วย จึงหันมาศึกษาวิธีการทำปลาร้าปรุงสุกเพื่อจำหน่าย จนเกิดแนวคิดว่า ถ้าเราทำใส่ขวดแล้วสามารถขายได้ทั่วประเทศ คนอื่นๆ ก็จะได้ชิม ได้รับประทานทานปลาร้ารสชาติอีสานได้ทั่วประเทศ คนที่ซื้อน้ำปลาร้าไปตำส้มตำขาย ก็สามารถขายได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะอร่อยหรือไม่ เพราะในน้ำปลาร้าเป็นสูตรพิเศษที่ทางเราคิดมาเพื่อลูกค้าที่เป็นพ่อค้าแม่ค้าที่ยังต้มปลาร้าไม่เป็น ให้สามารถไปเปิดร้านขายส้มตำได้ สร้างอาชีพคนอีกทางหนึ่ง โดยเคล็ดลับความแซ่บนัวที่พอจะเผยได้ก็คือ การนำเอาปลากะตัก ซึ่งเป็นปลาน้ำเค็มจากชายแดนภาคใต้มาหมักตามระยะเวลาที่เหมาะสม ประมาณ 5 เดือน จะทำให้น้ำปลาร้ามีกลิ่นที่หอมคล้ายกลิ่นปลาทู เมื่อนำมาหมักหรือต้มจะมีความพอดี โดยคุณสมบัติของปลากระตัก จะเป็นปลาที่มีไขมันในปลาไม่มาก เป็นปลาตัวเล็กมีแคลเซียม ทำให้เวลารับประทานมีรสชาติไม่เหมือนปลาน้ำจืด ที่แต่เดิมจะต้องใช้ลำข้าวแบบคั่วหรือข้าวคั่วมาผสมกับเกลือและหมักไว้เป็นปี แต่การนำปลากะตักมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักจะสามารถย่นระยะเวลาได้มาก แต่รสชาติก็ไม่แพ้ใคร โดยแต่ละเดือนจะซื้อปลากะตักมาหมักประ 100 ตันต่อเดือน

 นายไพรฑูรย์ ยังกล่าวอีกว่า นอกจากการผลิตน้ำปลาร้าปรุงสุกส่งจำหน่ายแล้ว วัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตน้ำปลาร้า คือ กากของปลากะตัก ซึ่งจะมีส่วนผสมของก้างปลาที่กรองมาแล้ว และมีส่วนผสมของเครื่องปรุงรสที่รวมอยู่ในกากปลาป่น จึงได้ลองนำมาอบแห้งด้วยอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ส่งตรวจคุณค่าทางสารอาหาร ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนามาตรฐานอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง จากการตรวจคุณค่าทางอาหารพบว่า กากวัตถุดิบที่เหลือจากปลากะตักมีส่วนในการเพิ่มโปรตีนให้กับสัตว์และพืช มีโปรตีนมากที่สุดในบรรดาที่กาดอาหารของบริษัทอื่นๆ ที่ เอาไปตรวจสอบด้วยกัน ซึ่งแต่ก่อนที่จะนำมาเศษวัตถุดิบหรือกากปลาเหล่านี้ ให้ไปชาวบ้านและพนักงานที่มีไร่ มีนา มีไร่อ้อย ไปเทลงในที่นาที่ไร่ทำเป็นปุ๋ย ปรากกฎว่า ให้ผลผลิตดี เปรียบเทียบจากแต่ก่อนใช้ปุ๋ยยูเรีย ทุก 3 ปี แต่เมื่อหันมาใช้กากปลาร้าไปเทลงอยู่ทั่วนา ทั่วไร่ พบว่า ข้าวสวย อ้อยสวย ตนเองจึงเปลี่ยนไอเดียว่า จะหันมาผลิตอาหารสัตว์และปุ๋ยชีวภาพจากกากปลาป่น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงสูตรและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน

About Author

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *