เศษใบอ้อยจากการเผาปกคลุมบ้าน นึกว่าลายกระเบื้อง

Social Share

หนุ่มขอนแก่นโพสเฟสบุ๊คเขม่าจากการเผาอ้อยตกใส่บริเวณบ้านกลายเป็นลายหินอ่อน พร้อมแคปชั่น “เจอปีละครั้งอดเอา” ขณะที่นายอำเภอน้ำพอง เตรียมเอาผิดกับผู้ที่ลักลอบเผาอ้อยอย่างเด็ดขาด

Social Share

          ผู้ใช้เฟสบุ๊คชื่อ ธีรวัฒน์ ชาญกัน ได้โพสภาพเขม่าจากการเผาอ้อยตกใส่บริเวณบ้าน ทำให้พื้นบ้านกลายเป็นลายขาวดำทั้งหมด พร้อมกับระบุข้อความว่า “ปีละครั้งอดเอา ปีหน้ากะอดเอาเด้อครับ ถ้าไฟไหม้อ้อยก่อนโรงงานเปิด คุณไม่ต้องเหนื่อยเผา เดี๋ยวเราเผาให้เอง”  หลังจากโพสไปมีการแชร์ต่อกันเป็นจำนวนมาก ถึงพฤติกรรมของผู้เผาโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของช้าวบ้าน ซึ่งบ้างคอมเม้น คอมเม้นว่า นึกว่าลายกระเบื้อง บ้างคอมเม้นคอมเม้นว่า แว๊ปแรกก็นึกว่าลายหินอ่อน

 เมื่อมาถึงบ้านเลขที่ 234 หมู่ที่ 1 บ้านห้วยไผ่ ตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ของผู้ใช้เฟสบุ็ครายดังกล่าว ไม่พบเจ้าตัว จึงประสานทางโทรศัพท์ โดยสรุปว่า ผู้ใช้เฟสบุ็ครายดังกล่าว ไม่ติดใจเรียกร้องใดๆ เพียงต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รณรงค์หรือร่วมกันแก้ไขปัญหามิให้มีการเผาไร่อ้อยหรือแนวทางอื่นที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน

    ด้านนายประจวบ รักษ์แพทย์ นายอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า หลังได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนได้ส่งเจ้าหน้าที่ปกครองลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ทราบว่า ทุกปีในพื้นที่จะมีการลักลอบเผาอ้อยเป็นประจำ แต่ปีนี้มีการเผาใกล้เคียงกับบริเวณบ้านจึงทำให้เศษใบอ้อยจากการเผา ปกคลุมไปทั่วบริเวณบ้าน เบื้องต้นได้ให้เจ้าหน้าที่รวบรวมหลักฐานเพื่อเอาผิดกับเจ้าของไร่อ้อยแล้ว โดยก่อนหน้านี้ทางอำเภอน้ำพอง ได้ร่วมกับโรงงานน้ำตาล สมาคมชาวไร่อ้อย ได้ประชาสัมพันธ์ไปยังเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยงดการเผา เพื่อลดค่าฝุ่นละออง พร้อมทั้งหักเปอร์เซ็นต์ความหวานและเงินชดเชย ตันละ 200 บาท และอ้อยที่เผาตัดเข้าส่งโรงงานจะเข้าคิวเป็นอันดับสุดท้ายต่อจากอ้อยสด ซึ่งเป็นมาตรการที่ทางอำเภอ พยายามที่จะป้องกันไม่ให้เกษตรลดการเผาอ้อยก่อนตัดส่งโรงงาน  ซึ่งเกษตรส่วนใหญ่ต่างให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีเพียงเกษตรกรส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังคงลักลอบเผา ยืนยันทางเจ้าหน้าที่จะเอาผิดกับผู้ที่ฝ่าฝืนตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด

           สำหรับจังหวัดขอนแก่น ได้มีมาตรการห้ามเผาทั้งจังหวัด เน้นหนักและบังคับใช้ตามข้อกฎหมายในด้านต่างๆ อย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังสถานการณ์ภาวะฝุ่น PM 2.5 อีกทั้ง ตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวอ้อย ซึ่งจะทำให้ปริมาณของฟางข้าวและใบอ้อยที่คงเหลือจากการเก็บเกี่ยวมีเป็นจำนวนมาก

About Author

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *